• เกี่ยวกับเรา
  • » เกี่ยวกับราชมงคลสุรินทร์
ประวัติ ราชมงคลสุรินทร์
เครื่องหมายประจำมหาวิทยาลัย

     ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน 8 กลีบ ล้อมรอบดอกบัวบาน 8 กลีบหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จมรรค 8 และความ สดชื่นเบิกบานก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ ภายใต้ดอกบัวเป็นดวงตราพระราชลัญจกรบรรจุอยู่ หมายถึง สัญลักษณ์และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์เป็นผู้พระราชทานนามว่า" มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล" บนตรารูปวงกลม มีพระมหาพิชัยมงกุฎครอบ และมีเลข 9 อยู่ หมายถึง รัชกาลที่ 9
     ด้านล่างของตราวงกลมทำพับกรอบโค้งรองรับ ชื่อ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน" คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้ พิมพ์ประจำยามทั้งสองข้าง หมายถึง ความเจริญ รุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล หมายความว่ามหาวิทยาลัยอันเป็นมงคลแห่งพระราชา
ตราสัญลักษณ์ดอกไม้ราชมงมลอีสาน

     • ออกแบบเป็นรูปดอกแคแสดผสมผสานกับรูปตัวอักษร U (University) และเส้นสายจากแคน
     • ดอกแคแสดเป็นดอกไม้ประจามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
     • ดอกแคแสดมีกลีบดอก 5 กลีบ อันหมายถึง วิทยาเขตที่รวมสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
     • ตัวอักษร U ซึ่งย่อมาจาก University นั้น ประกอบขึ้นจากเส้นสายทั้ง 5 เส้น ซึ่งได้มาจากลักษณะของแคนที่ประกอบด้วย 5 ลา เพื่อสื่อความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอีสาน และเส้นเหล่านี้มีทิศทางพุ่งขึ้นไปในทิศเดียวกัน เปรียบเสมือนการก้าวไปพร้อม ๆ กันทั้ง 5 วิทยาเขตเพื่อนาพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานสู่ความสาเร็จร่วมกันทางการศึกษา
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ดอกไม้ประจำวิทยาเขตสุรินทร์
    ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นแคแสด เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีแสด ขึ้นง่าย โตเร็ว เจริญเติบโตทุกพื้นที่ ทุกภาค
สีประจำมหาวิทยาลัย






     สีแสด
ดอกชัยพฤกษ์แดง Chaiyapruek Dang
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia javanica L.
ปณิธาน ((Determination))
    สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์ (Vision)
    วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นผู้นำจัดการศึกษาและบริการเป็นเลิศด้านเกษตรอินทรีย์และอุตสาหกรรมบริการผลิตกำลังคนที่มีคุณธรรม นำความรู้สู่สังคม
วัฒนธรรมองค์กร
    รักองค์กร ต้องการความสำเร็จ รักการเรียนรู้ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อสังคม การทำงานคือความสุข มีความเป็นมืออาชีพ และเป็นสากล
    ค่านิยมร่วม
    I A M S U R I N
        I = Integrity ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
        A = Achievement มุ่งเน้นความสำเร็จ
        M = Morality มีคุณธรรม จริยธรรม
        S = Skill มีทักษะ เป็นมืออาชีพ
        U = Unity มีความสามัคคี
        R = Relevance รู้ทันโลก พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
        I = International เป็นสากล
        N = Networking สร้างเครือข่ายการทำงาน
ความท้าทายในอนาคต
    การเป็นมหาวิทยาลัยวิชาชีพชั้นนำ ระดับประเทศ
นโยบายการจัดการศึกษา
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
        มุ่งมั่นสร้างคนดี คนเก่ง สู่สังคม
    โดยใช้หลักคุณธรรมนาการศึกษา ด้วยอัตลักษณ์ 4 ประการคือ
        สะอาด สุภาพ สง่างาม และพอเพียง
พันธกิจ (Mission)
  1. จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ
  2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ
  3. มุ่งบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม
  4. ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อม
  5. บริหารจัดการด้วยระบบธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานขององค์กร
ประเด็นยุทธศาสตร์
  1. ศูนย์กลางการศึกษาและความรู้ (Hub) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นระบบสารสนเทศ วัสดุและพลังงาน ที่มีความเข้มเข็ง เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและบริการวิชาการ
  2. สร้างคนดี คนเก่ง ที่มีทักษะปฏิบัติงานในการทำงาน ทำให้เป็นทุนมนุษย์ (Human capital) ของประเทศ
  3. สร้างระบบบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ที่มีศักยภาพสูง
เป้าประสงค์
  1. เป็นแหล่งการศึกษาด้านวิชาชีพทางเทคโนโลยีเชิงบูรณาการ ที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ เป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกพื้นที่ ให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และสามารถแข่งขันได้
  2. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติวิชาชีพที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีคุณธรรม และปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ
  3. ผู้รับบริการมีความมั่นใจในการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบ
นโยบาย
R I D I N G Q A
  1. สร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Relevance)
  2. สร้างความผูกพันธ์ (รัก เชื่อมั่น ศรัทธา) ต่อองค์กร (Involvement)
  3. สร้างความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละให้กับองค์กร (Dedication)
  4. สร้างจิตสำนึกในการเป็นผู้ประกอบการ (Income Oriented)
  5. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Networking)
  6. จัดระบบบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Goverenance)
  7. พัฒนาคุณภาพทุกด้าน (Quality)
  8. ยึดมั่นในการพัฒนาภาวะผู้นำทุกระดับ (Accumulated Leadership)
ที่ตั้งวิทยาเขตสุรินทร์
    145 ถนนสุรินทร์-ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โทร. 044-153062 โทรสาร 044-520764
ประวัติความเป็นมา

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตรที่ 2/400-3/200 ด้านทิศตะวันออกของ ถนน สายสุรินทร์ - ช่องจอม ในเขตพื้นที่ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เดิมตั้งตั้งขึ้นตามนโยบายของเสนาบดีกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่ได้กำหนดให้มณฑล และจังหวัดจัดตั้งโรงเรียนประถมกสิกรรมขึ้น เพื่อเปิดสอนวิชาชีพทางเกษตร พระยาสุริยราชวราภัย ( ธานี วิเศษโกสินทร์ ) ข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์และขุนพิสุทธิวรวาท ธรรมการจังหวัดสุรินทร์จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 ที่บริเวณทุ่งนาด้านทิศตะวันออกของกำแพงเมืองชั้นนอกของเมืองสุรินทร์ที่เรียกว่า ทุ่งยาง (เวียลเวง) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสุรวิทยาคาร โรงเรียนสิรินธร โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ โรงเรียนเมืองสุรินทร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ และโรงพยาบาลสุรินทร์ รวมพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ชื่อ"โรงเรียนศรีสุรินทร์กสิกรรม" เป็นโรงเรียนประเภทประถมวิสามัญกสิกรรม สังกัดกรมวิสามัญ เปิดสอนทั้งระดับประถมสามัญ คืออยู่ในเกณฑ์บังคับเรียน (ประถม 1- 3 ) และประถมวิสามัญ (4-6) รวมเรียกว่าประถมบริบูรณ์ โดยมีครูประจำการ และครูใหญ่คนแรก เมื่อเดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2472 ชื่อ นายมั่น เพชรศรีสม และได้เปิดรับนักเรียน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2473


    วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 ได้แยกนักเรียนชั้นประถมวิสามัญกสิกรรมมาอยู่ที่บริเวณริมฝั่งห้วนเสนง ฝั่งขวา ด้านทิศตะวันตกของถนนสายสุรินทร์ - ช่องจอม และได้โอนมาสังกัดกรมอาชีวศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์" มีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายธรรมนูญ สิงคเสลิต
    พ.ศ. 2483 เกิดกรณีข้อพิพาทกับอินโดจีน ฝรั่งเศส กระทรวงกลาโหมต้องการที่ดินบริเวณที่ตั้งโรงเรียนเป็นที่ตั้งค่ายทหาร จึงตกลงขอต่อกระทรวงศึกษาธิการ ให้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ฝั่งทิศตะวันออกของถนน คือ ที่ตั้งปัจจุบัน ในปีเดียวกันนั่นเองได้เริ่มบุกเบิกพื้นที่เป็นเวลา 2 ปี ได้พื้นที่ทั้งหมด 1,500 ไร่
    พ.ศ. 2485 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบัน เริ่มต้นด้วยการมีครู 4 คน นักเรียน 30 คน และคนงาน 2 คน
    พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์ โรงเรียน โรงเรียนใช้บริเวณลำโกดกงเป็นสถานที่รับเสด็จ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของโรงเรียน โดยจัดสร้างศาลาที่ประทับแบบจตุรมุขทรงโปร่งทั้ง 4 ด้าน และตกแต่งบริเวณโดยรอบให้สวยงามด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ซึ่งต่อมาขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า "เกาะเสด็จประพาส"
    พ.ศ. 2508 ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ รวมทั้งกลุ่มวิทยาลัยเกษตรกรรมและวิทยาลัยอื่น ๆ หลายแห่งในสังกัดกรมอาชีวศึกษาได้รวมเข้าเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา สังกัดกรมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์"
    พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่เป็น" สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล " และวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น " สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์ " ตั้งแต่บัดนั้น
    พ.ศ. 2548 ได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
    ปัจจุบันเปิดสอน 2 คณะ ได้แก่
     1. คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
     2. คณะเทคโนโลยีการจัดการ
พัฒนาการจัดการศึกษา
    ปี พ.ศ. 2473 เปิดสอนชั้นประถมสามัญ (ป. 1-3)
    ปี พ.ศ. 2475 เปิดสอนชั้นประถมกสิกรรม (วิสามัญ ป. 4-6)
    ปี พ.ศ. 2481-2493 เปิดสอนชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น แผนกเกษตรกรรม หลักสูตร 2 ปี
    ปี พ.ศ. 2490-2505 เปิดสอนชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกเกษตรกรรม หลักสูตร 3 ปี
    ปี พ.ศ. 2496-2497 เปิดสอนชั้นประโยคครูมูลกสิกรรมหลักสูตร 1 ปี
    ปี พ.ศ. 2496-2500 เปิดสอนวิชาชีพการศึกษาผู้ใหญ่ แผนกเกษตรกรรม
    ปี พ.ศ. 2497-2505 เปิดสอนชั้นประโยคครูประถมเกษตรกรรม หลักสูตร 3 ปี
    ปี พ.ศ. 2505-2522 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ แผนกกสิกรรม หลักสูตร 3 ปี
    ปี พ.ศ. 2508 เปิดสอนวิชาชีพชั้นสูง แผนกเกษตรกรรมหลักสูตร 2 ปี
    ปี พ.ศ. 2523-2529 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ปมก.)
    ปี พ.ศ. 2528 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาเกษตรศึกษา
    ปี พ.ศ. 2530 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาพืชศาสตร์
    ปี พ.ศ. 2531 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาสัตวสาสตร์
    ปี พ.ศ. 2533 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเทคโนโลยีเครื่องจักกลเกษตร เทคโนโลยีภูมิทัศน์ และการจัดการธุรกิจการเกษตร
    ปี พ.ศ. 2534 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเทคโนโลยีการอาหาร และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    ปี พ.ศ. 2535 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาเกษตรศึกษา-เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
    ปี พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาการบริหารธุรกิจการเกษตร และเกษตรศึกษา-ประมง
    ปี พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาประมง
    ปี พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างไฟฟ้า และการบัญชี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาการจัดการ
    ปี พ.ศ. 2543 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร
    ปี พ.ศ. 2544 เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาเกษตรกลวิธาน และการจัดการ (หลักสูตรต่อเนื่อง)
    ปี พ.ศ. 2545 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาช่างยนต์ และภาคสมทบ สาขาการจัดการ, การบัญชี (ปวช.) และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เปิดสอนระดับปริญญาตรีวิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล (หลักสูตร 4 ปี)
    ปี พ.ศ. 2546 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาไฟฟ้า-ไฟฟ้ากำลัง และสาขาการบัญชี (รับผู้จบ ม. 6) ภาคสมทบ
    ปี พ.ศ. 2547 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการจัดการ - การจัดการทั่วไป เกษตรกลวิธาน การท่องเที่ยว และหลักสูตร 2 ปี เทียบโอนรายวิชา วิชาเอกระบบสารสนเทศ
    ปี พ.ศ. 2548 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการบัญชี
    ปี พ.ศ. 2550 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, และหลักสูตร 2 ปี(คอ.บ.) (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    ปี พ.ศ. 2551 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, การตลาด, การจัดการ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, และหลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาการบัญชี, สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
    ปี พ.ศ. 2552 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์และหลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
    ปี พ.ศ. 2553 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี สาขาสิ่งทอและการออกแบบ (ทล.บ.)
    ปี พ.ศ. 2553 เปิดสอนระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเกษตร